สิรีพาร์คยินดีต้อนรับองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก
14 มิถุนายน 2024สนุกสนานไปกับการเรียนรู้ธรรมชาติที่สิรีพาร์ค
18 มิถุนายน 2024พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัย “การพัฒนานวัตกรรมด้านความยั่งยืนที่มุ่งสู่การสร้างระบบนิเวศการมีสุขภาวะที่ดีของทุกชีวิต” ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล กับ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน 2567 โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัย “การพัฒนานวัตกรรมด้านความยั่งยืนที่มุ่งสู่การสร้างระบบนิเวศการมีสุขภาวะที่ดีของทุกชีวิต” ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล (โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ) กับ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน) ณ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ โดยมีศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และ รองศาสตราจารย์ ดร.สิงห์ อินทรชูโต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารนวัตกรรมยั่งยืน ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐนียา โตรักษา ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ, ศาสตราจารย์ ดร.นริศรา จันทราทิตย์ ประธานสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล, ดร.จิตพัต ฉอเรืองวิวัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส RISC และ ดร.สฤกกา พงษ์สุวรรณ ผู้อำนวยการ RISC ร่วมเป็นสักขีพยาน พร้อมด้วย คุณสุรินทร์ วราชุน ผู้ช่วยผู้อำนวยการ The Forestias, รองศาสตราจารย์ ดร. กิติกร จามรดุสิต คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์, รองศาสตราจารย์ ดร.ธัญญ์นลิน วิญญูประสิทธิ์ รองผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม, รองศาสตราจารย์ ดร.ปวีณา ไตรเพิ่ม ประธานสภาอาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชีรา วิบูลย์จันทร์ หัวหน้าภาควิชาพฤกษศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนาศรี สัมพันธารักษ์ เพ็ชรยิ้ม หัวหน้าภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เกียรติเข้าร่วมงานพิธีลงนาม พร้อมหารือโครงการวิจัยย่อยภายใต้ MOU ฉบับนี้ ซึ่งจะเน้นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยแบบสหสาขาและภาคเอกชน ในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ด้านการอนุรักษ์พืช ความหลากหลายทางชีวภาพ และความยั่งยืน รวมไปถึงการสร้างระบบการวัดและประเมิน Societal Impact ของนวัตกรรม การเผยแพร่ข้อมูลเชิงสาธารณะ เพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากพืชและทรัพยากรชีวภาพในระยะยาว ทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การสร้างผลเชิงบวกต่อระบบนิเวศการมีสุขภาวะที่ดีของทุกชีวิต ทั้งพืช สัตว์ สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม ต่อไป
————————-
หมายเหตุ : ภาพที่ปรากฎนำไปใช้เพื่อการสื่อสารและประชาสัมพันธ์เท่านั้น หากไม่ประสงค์ให้นำภาพไปใช้โปรดแจ้งผู้ดูแลระบบ