ยินดีต้อนรับอาจารย์และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
16 กันยายน 2022
โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภาผู้แทนราษฎร
21 กันยายน 2022
ยินดีต้อนรับอาจารย์และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
16 กันยายน 2022
โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภาผู้แทนราษฎร
21 กันยายน 2022

โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ในฐานะศูนย์ประสาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ครั้งที่ 11 ทรัพยากรไทย : 30 ปี อพ.สธ. : ประโยชน์แท้แก่มหาชน

เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน เป็นองค์ประธานเปิด “การประชุมวิชาการและนิทรรศการ ครั้งที่ 11 ทรัพยากรไทย : 30 ปี อพ.สธ. : ประโยชน์แท้แก่มหาชน” (เสด็จเป็นการส่วนพระองค์) เพื่อเทิดพระเกียรติ สนองพระราชดำริและสืบสานพระราชปณิธาน สร้างความเข้าใจและทำให้ตระหนักถึงความสำคัญในทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทย ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. ภก.สมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับเสด็จด้วย ณ บริเวณโถงกลาง ชั้น 1 อาคารเรียนรวม 6 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. – มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมจัดนิทรรศการนำเสนอผลการดำเนินงานตั้งแต่ที่เข้าร่วมสนองพระราชดำริฯ อพ.สธ. ปี พ.ศ. 2548 จนถึงปัจจุบัน โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐนียา โตรักษา ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ดร.สุนิสา แสงวิโรจนพัฒน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล คณะวิทยาศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ ตรีพรหม มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงนุช สังข์อยุทธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐิรา อ่อนน้อม สถาบันโภชนาการ ร่วมนำเสนอผลงานนิทรรศการในหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้
นิทรรศการส่วนที่ 1 นำเสนอภาพรวมการดำเนินงานร่วมกับ อพ.สธ. ของมหาวิทยาลัยมหิดล อาทิ จำนวนโครงการที่เข้าร่วมสนองพระราชดำริฯ อพ.สธ. ตามกรอบกิจกรรมของ อพ.สธ. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพืชอนุรักษ์ของ อพ.สธ. กิจกรรมเพื่อชุมชน และอื่น ๆ
นิทรรศการส่วนที่ 2 นำเสนอตัวอย่างโครงการที่เข้าร่วมสนองพระราชดำริฯ อพ.สธ. อาทิ
• โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ
• Digital Herbarium ของวิทยาเขตกาญจนบุรีร่วมกับคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการนำเสนอข้อมูลของตัวอย่างพรรณไม้แห้งที่เก็บไว้ในรูปแบบ Augmented Reality (AR) เพื่อให้ผู้ชมสามารถเห็นรูปและรายละเอียดของพรรณไม้ได้
• ตัวอย่างงานวิจัยที่วิจัยเกี่ยวกับพืชอนุรักษ์ของ อพ.สธ. 3 ชนิดคือ ตีนฮุ้งดอย มะเกี๋ยง และน้อยหน่าเครือ
• โปสเตอร์แสดงกิจกรรมพฤกษศาสตร์เพื่อประชาชน เช่น นิทรรศการภาพวาดทางพฤกษศาสตร์
…………………………………..
ปัจจุบันโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ. – มหาวิทยาลัยมหิดล) อยู่ในความดูแลของโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ
ซึ่งโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เป็นโครงการที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริ ขึ้นในปี 2535 “ให้ดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ และดำเนินการเป็นธนาคารพืชพรรณ” โครงการฯ จึงได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ อาทิ กิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช สำรวจรวบรวมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช รวมถึงสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยมหาวิทยาลัยมหิดลได้เข้าร่วมโครงการ อพ.สธ. มาตั้งแต่พุทธศักราช 2548 และได้รับการจัดตั้งงานสนับสนุนศูนย์ประสานงานโครงการ อพ.สธ. – มหาวิทยาลัยมหิดล อยู่ภายใต้กองบริหารงานวิจัย สำนักงานอธิการบดี เมื่อปี 2558 ทั้งนี้ ในปี 2563 “งานสนับสนุนศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ. – มหาวิทยาลัยมหิดล) จากกองบริหารงานวิจัย มาสังกัดยังโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ แทน