การได้รับการรับรองมาตรฐานการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์จาก Botanic Gardens Conservation International (BGCI)
7 เมษายน 2022
แหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภูมิปัญญาไทยและสมุนไพร ระดับ “ดีเยี่ยม”
2 กันยายน 2022
การได้รับการรับรองมาตรฐานการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์จาก Botanic Gardens Conservation International (BGCI)
7 เมษายน 2022
แหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภูมิปัญญาไทยและสมุนไพร ระดับ “ดีเยี่ยม”
2 กันยายน 2022

การพัฒนาอาชีพและการบ่มเพาะธุรกิจสำหรับคนพิการ “หลักสูตรอาชีพจากเครื่องยาสมุนไพร” และ “หลักสูตรอาชีพจากพรรณไม้”

[:th]E-WEB-Goal-04[:]
[:th]E-WEB-Goal-08[:]
[:th]E-WEB-Goal-10[:]
[:th]E-WEB-Goal-17[:]

ผู้ดำเนินการหลัก : โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ

ผู้ดำเนินการร่วม : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล

รายละเอียด

วันที่ 18-20 กรกฎาคม 2565 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) วิทยาลัยราชสุดา และโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้โครงการสร้างเสริมสมรรถนะด้านการเรียนรู้เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืนของคนพิการ วัตถุประสงค์ 1.4 การพัฒนาอาชีพและการบ่มเพาะธุรกิจสำหรับคนพิการ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐนียา โตรักษา ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมกันจัดฝึกอบรมอาชีพใน 2 หลักสูตรแบบ Authentic Learning ปฏิบัติจริงผ่านกิจกรรม DIY ทั้งรูปแบบ Online และ Onsite ณ สถานที่ตั้งของผู้เรียน

การพัฒนาอาชีพและการบ่มเพาะธุรกิจสำหรับคนพิการ ได้แก่ “หลักสูตรอาชีพจากเครื่องยาสมุนไพร” (ประกอบด้วย 4 ชุดกิจกรรม DIY: ทําพิมเสนนํ้า, ทำยาดมสมุนไพร, ทำลูกประคบสมุนไพร และทำสมุนไพรอบตัว) และ “หลักสูตรอาชีพจากพรรณไม้” (ประกอบด้วย 4 ชุดกิจกรรม DIY: ทําดอกไม้แห้ง, ทำกรอบรูปพรรณไม้, ทำการ์ดตกแต่งจากดอกไม้แห้ง, ทำเกลือสปาสมุนไพร) โดยมีคนพิการเข้าอบรมจำนวน 400 คน ประกอบไปด้วยคนพิการทางการมองเห็นจากศูนย์บริการคนตาบอดแห่งชาติ (กรุงเทพมหานคร), ศูนย์บริการคนตาบอดแห่งชาติ สาขาภาคเหนือตอนล่าง (ได้แก่ จังหวัดตาก  จังหวัดพิจิตร จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดสุโขทัย), ศูนย์บริการคนตาบอดแห่งชาติ สาขาภาคตะวันออก (ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา) และศูนย์ฝึกอาชีพหญิงตาบอดสามพราน, คนพิการทางการเรียนรู้/ออทิสติก/สติปัญญาจากโรงเรียนพระมหาไถ่ศึกษา และคนพิการทางจิตสังคมจากสมาคมเสริมสร้างชีวิต โดยเป้าหมายของการฝึกอบรมคือให้คนพิการเหล่านี้มีทางเลือกทางอาชีพที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว เพื่อสร้างสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนพิการ

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม : SDG4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก : 4.4, 4.5, 4.7, และ 4.a

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง : 8, 10 และ 17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ : 8.3, 8.5, 8.9, 10.2, 10.3, 17.17, 17.18,

MU-SDGs Strategy

Partners/Stakeholders

ยุทธศาสตร์ที่ 2

  • วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  • ศูนย์บริการคนตาบอดแห่งชาติ (กรุงเทพมหานคร)
  • ศูนย์บริการคนตาบอดแห่งชาติ สาขาภาคเหนือตอนล่าง (ได้แก่ จังหวัดตาก จังหวัดพิจิตร จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดสุโขทัย)
  • ศูนย์บริการคนตาบอดแห่งชาติ สาขาภาคตะวันออก (ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา)
  • ศูนย์ฝึกอาชีพหญิงตาบอดสามพราน
  • โรงเรียนพระมหาไถ่ศึกษา
  • สมาคมเสริมสร้างชีวิต

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)

Key Message

ตัวชี้วัด THE Impact Rankings ที่สอดคล้อง

การพัฒนาอาชีพและการบ่มเพาะธุรกิจสำหรับคนพิการ “หลักสูตรอาชีพจากเครื่องยาสมุนไพร” และ “หลักสูตรอาชีพจากพรรณไม้”

4.3.2, 4.3.4, 8.2.3, 10.6.8, 17.2.5