✨สิรีพาร์คยินดีต้อนรับอาจารย์และนักศึกษาจากภาควิชาเภสัชวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
31 สิงหาคม 2023
🌷สิรีพาร์คยินดีต้อนรับนักเรียนจากโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
2 กันยายน 2023
✨สิรีพาร์คยินดีต้อนรับอาจารย์และนักศึกษาจากภาควิชาเภสัชวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
31 สิงหาคม 2023
🌷สิรีพาร์คยินดีต้อนรับนักเรียนจากโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
2 กันยายน 2023

บัว “สิรีสกลธรณ์” ดอกไม้สัญลักษณ์ของโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ได้รับการรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 จากกรมวิชาการเกษตร เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2566

✨ “สิรีสกลธรณ์” มีความหมายว่า “บริบูรณ์ด้วยมิ่งขวัญและความทรงจำของแผ่นดิน” ซึ่งพันธุ์บัวลูกผสมนี้ได้รับการตั้งชื่อโดย ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ
.
🪷ลักษณะดอกเป็นสีม่วงสลับขาว กลีบดอกเรียงซ้อนกันหลายชั้น ปลายกลีบดอกเรียวแหลม และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ติดดอกเป็นจำนวนมาก ดอกจะบานประมาณช่วงเวลา 09.00-16.00 น. ระยะเวลาในการบานจนดอกโรยประมาณ 3 วัน ใบมีสีเขียวอ่อน
.
🪷บัวผันพันธุ์ “สิรีสกลธรณ์” เป็นบัวพันธุ์ลูกผสมที่ได้จากการผสมเกสรระหว่าง ต้นพันธุ์แม่คือ บัวผัน รหัสคัดเลือก Nymphaea OP5914 ที่ปลูกเลี้ยงในปางอุบล สวนบัว จังหวัดนนทบุรี กับต้นพันธุ์พ่อคือ บัวผัน N. Colorata No.2 (Nymphaea nouchali var. zanzibariensis (Casp.) Verdc.) ในปี พ.ศ. 2563 โดย นางปริมลาภ ชูเกียรติมั่น (ผู้เขียนหนังสือบัวสัญชาติไทยในปางอุบล และเป็นเจ้าของ ปางอุบล สวนบัว / “Pang U Bon” – Waterlily Garden ซึ่งเป็นพื้นที่ศึกษาและอนุรักษ์พันธุ์บัวต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศมาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อ (ดร.เสริมลาภ วสุวัต) พ.ศ. 2512) เป็นผู้ผสมเกสร จากนั้นได้ศึกษาและเก็บข้อมูลความคงตัวของลักษณะประจำพันธุ์ จากต้นที่คัดเลือก จำนวน 1 ต้น เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ใช่ลักษณะที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศหรือสภาพแวดล้อม ตรวจสอบการให้ดอกจนถึงดอกที่ 20 และแยกหัวย่อยจากต้นแม่ปลูกศึกษา ปี พ.ศ. 2565 พบว่าลักษณะประจำพันธุ์ของบัวลูกผสมมีความคงตัวและสม่ำเสมอ และมีความแตกต่างจากพันธุ์อื่นในท้องตลาด คือยังไม่พบบัวที่มีทรงกลีบเรียวและซ้อนกันมาก และกลีบสีม่วงแกมน้ำเงินเหมือนกับลูกผสมต้นนี้ จึงได้มอบให้โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2565 โดยสิทธิความเป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลกับคุณปริมลาภ ชูเกียรติมั่น
.
ลูกเพจที่แวะมาเที่ยวอุทยานฯ สามารถชมความงามของบัวสิรีสกลธรณ์ได้ที่กระถางบัวด้านหน้าอุทยานฯ ก่อนเข้าประตูอุทยานฯ ได้เลยนะคะ 🥰🪷🙏
———–
🕕 สิรีพาร์คเปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น.
– มีลานจอดรถด้านหน้าอุทยานฯ
– มีรถประจำทางผ่านหน้ามหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
———–
📸 อัตราค่าเข้าชมอุทยานฯ (ไม่รวมห้องนิทรรศการ)
– นศ./ บุคลากร ของมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าชมฟรี✨
– บุคคลทั่วไป 🙋
🌱 อายุ 3 – 59 ปี คนละ 50 บาท
🌱 นักเรียน/นักศึกษา/บุคลากรทางการศึกษา คนละ 30 บาท
(โปรดแสดงบัตรนักเรียน/นักศึกษา/บุคลากรทางการศึกษา)
🌱 ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 3 ปี หรืออายุ 60 ปีขึ้นไปเข้าชมฟรี✨
ทั้งนี้ ค่าเข้าชมดังกล่าว เป็นการสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุ์พืชสมุนไพรไทย ซึ่งอุทยานฯ เป็นแหล่งรวบรวมต้นสมุนไพรที่มากที่สุดในประเทศไทย มากกว่า 900 ชนิด 🙏🌿✨
————
🌳🎬 อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้บริการเช่าสถานที่สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ ภายในอุทยาน ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สวนสมุนไพร กว่า 140 ไร่ , ศาลาอเนกประสงค์ , ห้องประชุมขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ (ขนาด 10 คน – 200 คน) พร้อมรองรับการเข้าชม การทำกิจกรรม Workshops และใช้งานในโอกาสที่แตกต่างกันไป
———–

📲 สำหรับท่านใดที่สนใจกิจกรรม สามารถจองเข้าชมเป็นหมู่คณะล่วงหน้าได้ที่ลิงก์ http://10.41.145.140

หรือ ติดต่อสอบถามรายละเอียด โทร. 06 5986 3283 หรือ 06 2217 2665 (น้องเนม) ในวันและเวลาราชการ

———–
🌼 “การจัดกิจกรรมสำหรับหมู่คณะ” ทีม Sireepark สามารถประยุกต์กิจกรรมให้เหมาะสมกับทุกวัย และกลุ่มที่หลากหลาย (เด็ก เยาวชน วัยทำงาน ผู้สูงอายุ คนพิการ) สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับทีมงานได้เลยนะคะ
🎨🌻🐿️🔭สำหรับกิจกรรม Workshop อาทิ การชมห้องนิทรรศการด้านภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การชมสวนสมุนไพร การทำ Workshop ยาดมสมุนไพร, อาหารจากสมุนไพร, สีสกัดจากธรรมชาติ, การทำดอกไม้แห้ง (แบบนักพฤกษศาสตร์), การขยายพันธุ์พืช, การทำปุ๋ย, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นต้น