
โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ให้การต้อนรับผู้บริหารจาก บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อหารือความร่วมมือการพัฒนาพื้นที่สาธิตต้นแบบนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการเรียนรู้ SDGs
29 กันยายน 2021
โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับทีมงานจากนิตยสารบ้านและสวน เพื่อร่วมวางแผนการจัดกิจกรรมในสวนสมุนไพร
4 พฤศจิกายน 2021อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ “รวมพลคนมักขิง” ผ่านโปรแกรม Webex Events
![[:th]245816306_4418273954953181_6321426299640029485_n[:]](https://sr.mahidol.ac.th/wp-content/uploads/2021/10/245816306_4418273954953181_6321426299640029485_n-1024x506.jpg)
วันที่ 14 ตุลาคม 2564
โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานสัมมนาออนไลน์ (Siree Park Webinar) ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “รวมพลคนมักขิง” ผ่านโปรแกรม Webex Events
โดยงานสัมมนาในหัวข้อดังกล่าวจัดขึ้นทั้งหมด 2 วัน ได้แก่ วันที่ 14 และ 15 ตุลาคม 2564 เพื่อเป็นการนำเสนอพืชวงศ์ขิง ในประเทศไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีจำนวนชนิดของพืชวงศ์ขิงสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ในปัจจุบันมีประมาณ 400 ชนิด และมีการนำไปใช้ประโยชน์ในหลายรูปแบบ ได้แก่ อาหาร สมุนไพร และการปลูกเป็นไม้ประดับ เช่น ขิง ข่า ขมิ้น กระชาย พืชกลุ่มนี้เป็นที่น่าสนใจอย่างมากโดยเฉพาะการนำไปใช้เป็นยาสมุนไพร เพื่อสร้างความตระหนักรู้และเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องให้กับประชาชนให้เกิดความเข้าใจ ผ่านการบรรยายจากทีมวิทยากรมากประสบการณ์ ซึ่งเป็นคณะจัดทำหนังสือพรรณไม้แห่งประเทศไทย มาบรรยายพืชวงศ์ขิง 6 สกุลหลักที่พบในไประเทศไทย ได้แก่ กระวาน ขิง ขมิ้น เปราะ ดอกเข้าพรรษา และ มหาหงส์ โดยการบรรายจะพูดถึงความหลากหลายของชนิด การระบุชนิด รวมถึงการนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการอนุรักษ์ และนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนในอนาคต