หนูเรียนการปลูกดอกไม้ด้วยการเพาะเมล็ดมาแล้วค่ะ/ครับ
23 มิถุนายน 2022โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ยินดีต้อนรับศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน พร้อมด้วย The Forestias และทีมสถาปนิกและนักวิจัยอาวุโส
30 มิถุนายน 2022การประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯมหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 1/2565 วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2565
โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติได้จัดการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 1/2565 วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2565 เวลา 10.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์นที รักษ์พลเมือง ชั้น 5 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และออนไลน์ผ่านระบบ Cisco Webex Meetings โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร. ภก.สมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในการประชุมครั้งนี้ และได้รับเกียรติจากนายพรชัย จุฑามาศ รองผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เข้าร่วมประชุมและให้คำแนะนำแนวทางการดำเนินงาน อพ.สธ. ตามแผนแม่บท อพ.สธ. ระยะ 5 ปีที่เจ็ด (ตุลาคม 2564 – กันยายน 2569) การประชุมครั้งนี้มีคณะกรรมการดำเนินงานฯ เข้าร่วมประชุม รวมทั้งสิ้น จำนวน 21 ท่าน
การประชุมในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลได้สรุปภาพรวมการดำเนินงานโครงการ อพ.สธ. – มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564 – 2565 อาทิเช่น รายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัยและกิจกรรมที่เข้าร่วมสนองพระราชดำริฯ การจัดอบรมงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นสำหรับหน่วยงานสถานศึกษาและหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และร่วมกันพิจารณาโครงสร้างงานสนับสนุนศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.- มหาวิทยาลัยมหิดล ให้สอดคล้องกับกรอบการดำเนินงานของ อพ.สธ. ด้วย
นายพรชัย จุฑามาศ รองผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้นำเสนอแนวทางการดำเนินการวิจัย เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางของ อพ.สธ. และการของบประมาณโครงการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ โดยเน้นโครงการวิจัยที่ช่วยสนับสนุนชุมชน ท้องถิ่น และโรงเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่ใกล้เคียงมหาวิทยาลัย รวมทั้งสามารถพัฒนาต่อยอดจากโจทย์วิจัยที่เกิดจากชุมชน จนกระทั่งเกิดประโยชน์กลับไปสู่ชุมชนได้ และได้กล่าวถึงนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ซึ่งเป็นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ นอกจากนี้ อพ.สธ. ยังมีการจัดทำแอพพลิเคชั่นฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อให้องค์กรส่วนท้องถิ่นสามารถสำรวจและบันทึกข้อมูลได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งยังสามารถรวบรวมข้อมูลเพื่อเป็นฐานข้อมูลทรัพยากรในระดับประเทศส่งผลให้สามารถต่อยอดในการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป