ห้องเรียนธรรมชาติ เรียนรู้เรื่องสมุนไพรสไตล์…ลุงอ่ำ
16 สิงหาคม 2022
แจ้งปิดปรับปรุงระบบโทรศัพท์ภายในอุทยานธรรมชาติสิรีรุกขชาติ ชั่วคราว
19 สิงหาคม 2022
ห้องเรียนธรรมชาติ เรียนรู้เรื่องสมุนไพรสไตล์…ลุงอ่ำ
16 สิงหาคม 2022
แจ้งปิดปรับปรุงระบบโทรศัพท์ภายในอุทยานธรรมชาติสิรีรุกขชาติ ชั่วคราว
19 สิงหาคม 2022

โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ให้การต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม Technical Visit เอเปคด้านการท่องเที่ยว พ.ศ.2565 (APEC 2022)

วันที่ 18 สิงหาคม 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต
รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐนียา โตรักษา ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับกลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม Technical Visit เอเปคด้านการท่องเที่ยว พ.ศ.2565 (APEC 2022) โดยการนำของนายบุญเสริม ขันแก้ว รองอธิบดีกรมการท่องเที่ยว ประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ตลอดปี 2565 มีหัวข้อหลักของการประชุม คือ “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” (Open. Connect. Balance.) ประเด็นสำคัญ คือ การทำให้เอเปคเปิดกว้างสู่ทุกโอกาส เชื่อมโยงในทุกมิติ และสร้างสมดุลในทุกด้าน เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ซึ่งในระหว่างวันที่ 14 – 20 สิงหาคม 2565 เป็นการจัดการประชุมเอเปคด้านการท่องเที่ยว เพื้อฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สร้างรายได้เข้าชุมชน ผ่าน แนวคิด “เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว” หรือ BCG Economy
ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้กล่าวต้อนรับผู้นำด้านการท่องเที่ยวจากประเทศต่างๆ พร้อมให้ข้อมูลเกี่ยวกับ Mahidol Eco University and Sustainability Policy อาทิ โครงการผลิตปุ๋ยหมัก (Compost Production Project) โครงการธนาคารขยะรีไซเคิล (Recycle Waste Bank Project) และประเด็นการดำเนินกิจกรรมด้าน Low Carbon ภายในมหาวิทยาลัย เป็นต้น
พร้อมกันนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐนียา โตรักษา ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ พร้อมด้วยรองผู้อำนวยการฝ่ายต่างๆ ร่วมนำคณะผู้เข้าร่วมกิจกรรมชมพื้นที่สวนสมุนไพรโดยการนั่งรถรางไฟฟ้าชมสวนสมุนไพรในพื้นที่ 140 ไร่ พร้อมให้ข้อมูลโครงการบ้านรักหมา (Salaya Dog Shelter) ที่เป็นต้นแบบสาธิตการจัดการสุนัขจรจัดอย่างยั่งยืนโดยคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นผู้ดูแล และนำชมห้องห้องนิทรรศการถาวรเพื่อเรียนรู้ข้อมูลด้านสมุนไพรไทย