🌿อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในศุภมงคลสมยขึ้นปีใหม่ ปีพุทธศักราช 2568✨
27 ธันวาคม 2024
ขอขอบพระคุณมูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้ไว้วางใจเลือกใช้สถานที่อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ
7 มกราคม 2025
🌿อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในศุภมงคลสมยขึ้นปีใหม่ ปีพุทธศักราช 2568✨
27 ธันวาคม 2024
ขอขอบพระคุณมูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้ไว้วางใจเลือกใช้สถานที่อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ
7 มกราคม 2025

สถาบันเค อะโกร-อินโนเวท เข้าเยี่ยมชมอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ พร้อมหารือโครงการ “น่าน Sandbox”

วันอังคารที่ 7 มกราคม 2568 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐนียา โตรักษา ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ให้การต้อนรับคุณอนันต์ ลาภสุขสถิต ประธานสถาบันเค อะโกร-อินโนเวท (K Agro-Innovate Institute) ภายใต้มูลนิธิกสิกรไทย และทีม ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ และศูนย์อ้างอิงทางพฤกษศาสตร์พืชสมุนไพรและเครื่องยา (ทั้ง Living Collections, Herbarium, Plant Nursery, Tissue Culture Lab รวมทั้ง Molecular & Phytochemical Labs) โดยได้หารือความร่วมมือทางวิจัยและวิชาการในโครงการ “น่าน Sandbox” เน้นการสร้างฐานข้อมูลพืชสมุนไพรที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงและมีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และเกษตรกรจังหวัดน่าน รวมทั้งการวางระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลดังกล่าวบนแนวคิด “Multidisciplinary Ecosystem” ซึ่งจะทำให้การเลือกชนิดพืชสมุนไพรปลูกที่น่านและการจัดการพื้นที่แปลงปลูกมีประสิทธิภาพสูงสุด ทำให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำเกษตรสู่การปลูกพืชสมุนไพรมูลค่าสูง ในรูปแบบเกษตรอินทรีย์ที่ใช้พื้นที่น้อย ช่วยให้เกษตรกรอยู่ร่วมกับป่าต้นน้ำได้อย่างมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ ทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การฟื้นฟูและคืนป่าต้นน้ำน่าน ซึ่งเป็นโจทย์หลักและเป้าหมายปลายทางของโครงการ “น่าน Sandbox” นอกจากนี้ยังได้มีการหารือความร่วมมือการใช้พื้นที่อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ เป็นพื้นที่ “Innovation Lab” ของสถาบันเค อะโกร-อินโนเวท ขนานไปกับพื้นที่ศูนย์วนเกษตร-พฤกษเภสัช (Pharma-Agroforestry District: PAD) ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดน่าน ในการเป็นพื้นที่ต้นแบบทดลองปลูกพืชสมุนไพรที่เป็นยา (ภายใต้ Conditions ต่างๆ) และส่งต่อการวิจัยและพัฒนาสารสกัดและผลิตภัณฑ์สมุนไพรมูลค่าสูงให้กับคณะ/สถาบันต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล
——————–
หมายเหตุ : ภาพที่ปรากฎนำไปใช้เพื่อการสื่อสารและประชาสัมพันธ์เท่านั้น หากไม่ประสงค์ให้นำภาพไปใช้โปรดแจ้งผู้ดูแลระบบ