อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มิได้เป็นผู้ดำเนินการและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมนี้ รวมถึงยังไม่มีผู้ติดต่อขอใช้สถานที่สำหรับจัดกิจกรรมดังกล่าว
29 สิงหาคม 2024สิรีพาร์คยินดีต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
29 สิงหาคม 2024𝐄-𝐁𝐨𝐨𝐤 𝐅𝐫𝐞𝐞 𝐃𝐨𝐰𝐧𝐥𝐨𝐚𝐝 สำหรับ Innovators ที่อยากร่วมสร้างสังคมสุขภาวะแบบ “𝐼𝘯𝑐𝘭𝑢𝘴𝑖𝘷𝑒 𝑆𝘰𝑐𝘪𝑒𝘵𝑦” ผ่าน Sensory Garden และ Inclusive (Sensory) Play-Based Learning ที่เด็กทุกคนมีคุณค่าและมีความหมาย
𝐄-𝐁𝐨𝐨𝐤 𝐅𝐫𝐞𝐞 𝐃𝐨𝐰𝐧𝐥𝐨𝐚𝐝 สำหรับ Innovators ที่อยากร่วมสร้างสังคมสุขภาวะแบบ “𝐼𝘯𝑐𝘭𝑢𝘴𝑖𝘷𝑒 𝑆𝘰𝑐𝘪𝑒𝘵𝑦” ผ่าน Sensory Garden และ Inclusive (Sensory) Play-Based Learning ที่เด็กทุกคนมีคุณค่าและมีความหมาย: https://sr.mahidol.ac.th/sensory-garden/
หนังสือคู่มือ “เรียนรู้ร่วมกันผ่าน “การเล่น” ในสวนประสาทสัมผัสเพื่อสุขภาวะของเด็กทุกคน: วิธีส่งเสริมการเล่นกับธรรมชาติเพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัสของเด็กในสภาพแวดล้อมที่เด็กที่มีความแตกต่างหลากหลายสามารถเล่นร่วมกันได้อย่างมีความสุข” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐนียา โตรักษา และคณะ เขียนขึ้นจากแรงบันดาลใจในการสร้างสังคมแบบ “Inclusive Society” ที่มองว่าการเล่น “ร่วมกัน” ในสวนประสาทสัมผัสของเด็กๆ ที่มีความแตกต่างหลากหลาย ในพื้นที่ธรรมชาติและกิจกรรมที่ถูกออกแบบเพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 7 ด้าน (ได้แก่ การมองเห็น, การได้ยิน, การได้กลิ่น, การรับรส, การสัมผัส, ระบบการรักษาสมดุลการทรงตัว, และการรับรู้อากัปกริยาร่างกายและพื้นที่ขณะเคลื่อนไหว) ช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ “ความแตกต่าง” อย่างสนุกและมีความสุข ส่งเสริมพัฒนาการและสุขภาวะของเด็กแบบองค์รวม ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม สร้างความเข้าใจบนความแตกต่าง นำไปสู่การสร้างสังคมแบบ “Inclusive Society” ที่ “เด็กทุกคน” มีคุณค่าและมีความหมาย โดยหนังสือเล่มนี้ถือเป็น “นวัตกรรมเชิงสังคม” ที่สร้างขึ้นและได้ทดลองดำเนินการจริง (ผ่านโปรแกรมค่ายกิจกรรม 5 วัน) บนพื้นที่ต้นแบบสวนประสาทสัมผัส (Sensory Garden) ของอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
หนังสือเล่มนี้ถือเป็นคู่มือเล่มแรกในประเทศไทยที่มีการอธิบายวิธีการในการส่งเสริมการเล่นกับธรรมชาติเพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัสของเด็ก (รวมถึงวิธีการประเมินผลลัพธ์ทางสุขภาวะจากการเล่น) ในสภาพแวดล้อมที่เด็กที่มีความแตกต่างหลากหลายสามารถเล่นร่วมกันได้อย่างสนุก (playfulness) และมีความสุข (happiness) บนหลักการ “Inclusion” ที่ช่วยให้ “Learning Facilitator” (เช่น ครู ผู้ปกครอง นักกิจกรรมบำบัด นักพัฒนาการเด็ก อาสาสมัคร ฯลฯ) สามารถใช้เป็นแนวทางในการออกแบบสวนประสาทสัมผัสและโปรแกรมกิจกรรม “การเล่นร่วมกัน” (inclusive sensory play) ซึ่งจะช่วยให้เด็กเติบโตอย่างมีความสุขและมีสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน
—————————-
#พื้นที่ #เช่าสถานที่ #กิจกรรม #สถานที่ #sireepark #ถ่ายMV #ถ่ายภาพ #พื้นที่สวน #herbs #salaya #นครปฐม #ศาลายา #มหิดล #พื้นที่สุขภาวะ #พื้นที่เรียนรู้ #playground #กิจกรรมสำหรับเด็ก #พื้นที่แห่งความสุข #พื้นที่นวัตกรรม #สังคมยั่งยืน #สิ่งแวดล้อม #ปุ๋ยหมักชีวภาพ #wellbeing #happiness #หมอชีวก #Workshop #FieldTrip #สมุนไพร #แพทย์แผนไทยประยุกต์ #sensory #sensorygarden #สวนประสาทสัมผัส