เวทีเสวนาเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขับเคลื่อนสังคมสู่ 𝐼𝘯𝑐𝘭𝑢𝘴𝑖𝘷𝑒 𝑆𝘰𝑐𝘪𝑒𝘵𝑦 (Day 1 # ชวนคิดชวนคุยแนว “Policy/Societal Dialogue)
วันอังคารที่ 27 สิงหาคม 2567 โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัด “เวทีเสวนาเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขับเคลื่อนสังคมสู่ Inclusive Society” ภายใต้หัวข้อ “สวนประสาทสัมผัส กับ การเรียนรู้ร่วมกันผ่านการเล่นของเด็กบนความแตกต่าง สู่การมีสุขภาวะที่ดีของเด็กทุกคน” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาต้นแบบโปรแกรมการเรียนรู้แบบรวมในสวนประสาทสัมผัสเพื่อสุขภาวะของเด็กพิการ สนับสนุนโดย สสส. มีรองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐนียา โตรักษา ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ เป็นหัวหน้าโครงการ และได้รับเกียรติจาก ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ กรรมการกำกับทิศทางการพัฒนาคุณภาพชีวิต สสส. กล่าวต้อนรับเปิดเวทีเสวนา ซึ่งเวทีเสวนานี้จัดในรูปแบบชวนคิดชวนคุยแนว “Policy/Societal Dialogue” ในประเด็นดังนี้
• เด็กกับการพัฒนาด้วยการเรียนรู้จากประสบการณ์ในพื้นที่ธรรมชาติ และบทบาทของ “Learning Facilitator” ในการส่งเสริมการสังเกต การรับรู้ และการสะท้อนคิดของเด็ก (โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช)
• สวนประสาทสัมผัส (Sensory Garden) กับการออกแบบตามบริบทพื้นที่ เพื่อสุขภาวะที่ดีของทุกคนในชุมชน (โดย ผศ.ดร.ธนาศรี สัมพันธารักษ์ เพ็ชรยิ้ม)
• ถอดบทเรียนจากประสบการณ์: การเล่น “ร่วมกัน” ของเด็กที่มีความแตกต่างหลากหลาย และผลต่อสุขภาวะของเด็กทุกคน (โดย คุณปวีณา พัวประเสริฐ, ผู้ปกครอง 4 ครอบครัวที่เข้าร่วมทดลองค่ายกิจกรรม 5 วันในสวนประสาทสัมผัสฯ จัดโดย Sireepark, และ รศ.ดร.ณัฏฐนียา โตรักษา)
• เมื่อเด็กที่มีความหลากหลายเล่นร่วมกันในพื้นที่ธรรมชาติ และทิศทางโรงเรียนแห่งอนาคต (โดย รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์, คุณสโลพร ตรีพงษ์พันธ์, และ รศ.ดร.ณัฏฐนียา โตรักษา)
โดยมีผู้เข้าร่วมงาน ณ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ประมาณ 150 คน ประกอบไปด้วย ผู้บริหาร/ครู/บุคลากรจากโรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนเอกชน โรงเรียนทางเลือก กลุ่มผู้ปกครองที่จัดการศึกษาแบบโฮมสคูล นักกิจกรรมบำบัด นักพัฒนาการเด็ก บุคลากรโรงพยาบาล/ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูผู้สูงอายุที่สนใจเรื่องสวนประสาทสัมผัส องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาจารย์/นักศึกษามหาวิทยาลัย สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) (OKMD) รวมทั้งมูลนิธิต่างๆ และหน่วยงานภาคเอกชน เช่น The Forestias by MQDC, บริษัท ภิรัชบุรี จำกัด (SAMA Garden) และ Steps Community
นอกจากนี้ ภายในงานมีการเปิดตัวหนังสือคู่มือ “เรียนรู้ร่วมกันผ่าน “การเล่น” ในสวนประสาทสัมผัสเพื่อสุขภาวะของเด็กทุกคน: วิธีส่งเสริมการเล่นกับธรรมชาติเพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัสของเด็กในสภาพแวดล้อมที่เด็กที่มีความแตกต่างหลากหลายสามารถเล่นร่วมกันได้อย่างมีความสุข” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐนียา โตรักษา และคณะ (E-Book สามารถ download ฟรีได้ที่ https://sr.mahidol.ac.th/sensory-garden/) โดยหนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นจากแรงบันดาลใจในการสร้างสังคมแบบ “Inclusive Society” ที่มองว่าการเล่น “ร่วมกัน” ในสวนประสาทสัมผัสของเด็กๆ ที่มีความแตกต่างหลากหลาย ในพื้นที่ธรรมชาติและกิจกรรมที่ถูกออกแบบเพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 7 ด้าน (ได้แก่การมองเห็น, การได้ยิน, การได้กลิ่น, การรับรส, การสัมผัส, ระบบการรักษาสมดุลการทรงตัว, และการรับรู้อากัปกริยาร่างกายและพื้นที่ขณะเคลื่อนไหว) ช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ “ความแตกต่าง” อย่างสนุกและมีความสุข ส่งเสริมพัฒนาการและสุขภาวะของเด็กแบบองค์รวม ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม สร้างความเข้าใจบนความแตกต่าง นำไปสู่การสร้างสังคมแบบ “Inclusive Society” ที่ “เด็กทุกคน” มีคุณค่าและมีความหมาย โดยหนังสือเล่มนี้ถือเป็น “นวัตกรรมเชิงสังคม” ที่สร้างขึ้นและได้ทดลองดำเนินการจริง (ผ่านโปรแกรมค่ายกิจกรรม 5 วัน) บนพื้นที่ต้นแบบสวนประสาทสัมผัส (Sensory Garden) ของอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ
————–
หมายเหตุ: ภาพที่ปรากฎนำไปใช้เพื่อการสื่อสารและประชาสัมพันธ์เท่านั้น หากไม่ประสงค์ให้นำภาพไปใช้โปรดแจ้งผู้ดูแลระบบ
—————
#พื้นที่ #เช่าสถานที่ #กิจกรรม #สถานที่ #sireepark #ถ่ายMV #ถ่ายภาพ #พื้นที่สวน #herbs #salaya #นครปฐม #ศาลายา #มหิดล #พื้นที่สุขภาวะ #พื้นที่เรียนรู้ #playground #กิจกรรมสำหรับเด็ก #พื้นที่แห่งความสุข #พื้นที่นวัตกรรม #สังคมยั่งยืน #สิ่งแวดล้อม #ปุ๋ยหมักชีวภาพ #wellbeing #happiness #หมอชีวก #Workshop #FieldTrip #สมุนไพร #แพทย์แผนไทยประยุกต์ #sensory #sensorygarden #สวนประสาทสัมผัส