ข่า อาหารเป็นยาคู่ครัวไทย
17 กันยายน 2021ย่านาง & เท้ายายม่อม
17 กันยายน 2021ชุมเห็ดเทศ & ตองแตก
ชุมเห็ดเทศ & ตองแตก
(สุดยอดนักขับน้องอุ๊จจ้า ออกจากท้องเรา)
ในบทนี้เราจะทำความรู้จักกับสมุนไพรสองชนิด ที่จะช่วยให้เราสบายท้อง เนื่องจากทั้งสองตัวนั้นมีสรรพคุณเป็น ยาระบาย แก้ท้องผูก ใครที่กำลังไม่สบายท้อง อืด ๆ ตุ่ย ๆ ต้องอ่านต่อให้จบเลยนะ
เริ่มกันที่สมุนไพรตัวแรกที่จะถูกหยิบมาพูดถึงในบทความนี้ ก็คือ “ชุมเห็ดเทศ” หรือในชื่อวิทยาศาสตร์เรียกว่า Senna alata (L.) Roxb. อยู่ในวงศ์ FABACEAE ลักษณะเป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 2–3 ม. ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ออกเรียงสลับ ดอกสีเหลืองทอง เกสรเพศผู้มี 10 อัน ผลเป็นฝักเกลี้ยง ฝักแก่มีสีดำแตกตามยาวมีสันกว้าง 4 สัน มีปีก มีเมล็ดจำนวนมาก แบน รูปสามเหลี่ยมผิวขรุขระสีดำ
ตามตำรายาโบราณ ใบและดอก ใช้เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก โดยมีวิธีการนำมาใช้อย่างง่าย ๆ โดยการนำช่อดอก 2–3 ช่อ ต้มกินกับน้ำพริก หรืออีกวิธีจะใช้ใบ จำนวน 8–12 ใบ นำมาตากแห้ง บดเป็นผง ชงกินเป็นชา โดยรับประทานในช่วงเย็นหรือก่อนนอน เพียงเท่านี้ สารกลุ่มแอนทราควิโนน ในดอกและใบของชุมเห็ดเทศ ซึ่งมีฤทธิ์ในการกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้เช่นเดียวกับมะขามแขก ก็จะช่วยให้ร่างกายขับถ่ายได้ดีขึ้นในช่วงเวลาที่เราตื่นนอนในช่วงเช้าเนื่องจากยากลุ่มนี้ใช้ระยะเวลานานประมาณ 8 ชั่วโมงถึงจะออกฤทธิ์นั่นเอง
แค จะเป็นแคบ้านสีขาว หรือแคแดง สีชมพูแดงสวย เป็นต้นไม้ชนิดเดียวกัน มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Sesbania grandiflora (L.) Poir. เป็นพืชวงศ์เดียวกับถั่ว (Fabaceae) รูปลักษณ์หลายอย่างจึงคล้ายกัน แคเป็นไม้ต้น สูงได้ถึง 10 เมตร ใบเป็นใบประกอบ รูปไข่ ดอกออกเป็นช่อ ลักษณะคล้ายดอกถั่ว กลีบเลี้ยงสีเขียว กลีบดอกเจอได้ทั้งสีขาว และสีแดง-ชมพู
ข่า เป็นสมุนไพรคู่ครัวไทยที่ใช้ในการประกอบอาหารไทยหลากหลายเมนูมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยส่วนของข่าที่นิยมนำมาใช้ประกอบอาหารได้แก่ เหง้า ซึ่งเป็นส่วนของลำต้นที่อยู่ใต้ดิน เหง้าข่าอ่อนใช้ในการประกอบอาหาร เช่น เมนูต้มข่าไก่ เพื่อดับกลิ่นคาว ชูรสอาหาร และให้กลิ่นหอม หรือนำมาฝานเป็นชิ้นบาง ๆต้มเพื่อรับประทานเป็นเครื่องเคียง คนไทยมีภูมิปัญญาดั้งเดิมในการนำข่าที่หั่นเป็นชิ้นบาง ๆไปแช่ในน้ำที่ผสมน้ำมะนาว เพื่อป้องกันไม่ให้ชิ้นข่าที่ฝานแล้วกลายเป็นสีดำ นอกจากนี้ยังช่วยให้ชิ้นข่าที่นำไปแช่นั้นเปลี่ยนเป็นสีขาวอมชมพูระเรื่อ และนำไปใส่น้ำต้มเดือดจัดๆ เพื่อให้น้ำมันหอมระเหยจากข่าอ่อน ระเหยออกมาชูรสอาหาร และทำให้เมนูอาหารมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน นอกจากนี้คนไทยยังใช้เหง้าข่าแก่เป็นส่วนผสมในเมนูต้มยำ โดยเฉพาะต้มยำเนื้อ เพื่อดับกลิ่นคาวจากเนื้อสัตว์ และทำให้ต้มยำมีรสชาติกลมกล่อม หอมละมุนน่ารับประทาน สำหรับเมนูแกงนั้นคนไทยยังนิยมนำข่าแก่มาโขลกเป็นส่วนผสมในเครื่องแกง นอกจากข่าจะให้รสชาติและกลิ่นหอมละมุนกับเมนูอาหารแล้ว ข่ายังมีสรรพคุณทางยา ช่วยขับลม บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ และอาการคลื่นไส้อาเจียนอีกด้วย
แต่ก็มีข้อควรระวังตรงที่ การรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานานนั้นจะทำให้ลำไส้ของเราชินยา เอ๊ะ..! “ลำไส้ชินยาคืออะไร?” สภาวะลำไส้ชินยา ก็คือ ร่างกายของเราจะไม่สามารถขับถ่ายได้เอง ถ้าหากเราไม่รับประทานยาสมุนไพรจากชุมเห็ดเทศนั่นเอง
สมุนไพรอีกหนึ่งชนิดที่มีความโดดเด่นในเรื่องของการระบายท้องนั่นก็คือ “ตองแตก” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Baliospermum solanifolium (Burm.) Suresh อยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE
ลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 2–3 ม. ใบเดี่ยว เรียงสลับ จุดสังเกตจะอยู่ที่ใบ เพราะใบของตองแตกมี 3 แบบคือ ไม่มีขอบหยักเว้า มีขอบเว้า 1 แฉก และ 2 แฉก ดอกย่อยแยกเพศ ดอกเพศผู้อยู่ตอนบนของช่อดอก ดอกเพศเมียออกที่โคนช่อดอก ผลค่อนข้างกลม ผลแห้งแก่แล้วแตกได้ มี 3 พู กลีบเลี้ยงติดทน
ตามตำรายาโบราณ ใช้ราก ช่วยในการระบายท้อง เป็นยาถ่ายที่ไม่รุนแรงนัก วิธีการก็คือ ใช้รากประมาณ 1 หยิบมือ นำมาต้มกับน้ำ 1 ถ้วย ใส่เกลือเล็กน้อย เพียงเท่านี้ก็จะได้ยาระบายมาช่วยขับน้องอุ๊จจ้าออกจากท้องเรากันแล้ว
สำหรับบทนี้หวังว่าท่านผู้อ่านที่ผ่านเข้ามาจะได้ทำความรู้จักกับสมุนไพรทั้งสองชนิดไปบ้างแล้ว แต่สิ่งที่ผู้เขียนอยากจะย้ำกับทุกท่านก็คือ “ถึงแม้ว่าสมุนไพรจะเป็นยาที่มาจากธรรมชาติ แต่เราก็ไม่ควรใช้มากเกินไป เพราะอาจจะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายเราได้เช่นกัน” หวังว่าจะไม่เครียดจนเกินไป และก็หวังว่าทุกท่านจะยังคงติดตามในบทต่อ ๆ ไป…