วันที่ 6 กันยายน 2564 อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรบรรยาย และให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร ในโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการที่จัดขึ้นโดย กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผ่านโปรแกรมการประชุมทางไกล Zoom
14 กันยายน 2021
วันที่ 6 กันยายน 2564 อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรบรรยาย และให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร ในโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการที่จัดขึ้นโดย กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผ่านโปรแกรมการประชุมทางไกล Zoom
14 กันยายน 2021

มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับคณะผู้บริหารจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เข้าเยี่ยมชมโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ และหารือความร่วมมือการพัฒนาพื้นที่สาธิตต้นแบบนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการเรียนรู้ SDGs

วันที่ 9 กันยายน 2564 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน, รองศาสตราจารย์ ดร. ภก.สมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ, รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์, อาจารย์ ดร.ธิติคม พัวพันสวัสดิ์ ประธานสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล และ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐนียา โตรักษา รักษาการแทนผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารและทีมงานจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นำโดย คุณอัจฉริยา เจริญศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สานพลัง วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด และผู้จัดการฝ่ายกิจการเพื่อสังคม, คุณอรมาศ พินิจชอบ ผู้จัดการฝ่ายบริษัทสานพลัง วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด และผู้จัดการสถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท., คุณพงษบุตร อวยชัยวัฒน์ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์และความยั่งยืน, คุณณัฐสิทธิ์ เจียรวัฒน์ชัย ผู้จัดการฝ่ายบริหารความปลอดภัย ความมั่นคง อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม เนื่องในโอกาสเข้าเยี่ยมชมพื้นที่โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมทั้งหารือความร่วมมือในการพัฒนาต่อยอดพื้นที่ของอุทยานธรรมชาติวิทยาฯ ให้เป็น พื้นที่สาธิตต้นแบบนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการเรียนรู้ Sustainable Development Goals อย่างแท้จริง (Societal Innovation Demonstration Area for SDGs Authentic Learning)

 

ในโอกาสนี้ คณะผู้บริหารและทีมงานจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้เยี่ยมชมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิทัศน์โดยรอบของอุทยานธรรมชาติวิทยาฯ บนพื้นที่กว่า 140 ไร่ และได้ร่วมหารือกลยุทธ์และแผนงานในการยกระดับอุทยานให้เป็นฐานการเรียนรู้ SDGs ในมิติต่างๆ เพื่อให้เกิดความตระหนักรู้ สร้างแรงบันดาลใจ และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการใช้พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การใช้เซลล์แสงอาทิตย์ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าและบริหารจัดการน้ำ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ การจัดการและเพิ่มมูลค่าขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมทั้งส่งเสริมผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ในการสร้างและทดลองนวัตกรรมที่สร้างประโยชน์อย่างยั่งยืนให้กับชุมชนและสังคมต่อไปในอนาคต