การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม

โครงการวันเด็กแห่งชาติ ปีที่ 5 “Towards the Wellbeing of All Life”

วัตถุประสงค์

1) เพื่อปลูกฝังให้เด็กได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น รู้สึกรัก และเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมรอบตัวผ่านกิจกรรมที่เกิดจากสีสันของธรรมชาติ
2) เพื่อสอนให้เด็กได้ฝึกการเรียนรู้จากสีของธรรมชาติ ผ่านการลงมือทำในกิจกรรมต่างๆ
3) เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดประสบการณ์เรียนรู้ จดจำ และรู้จักคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ

ผู้มีส่วนร่วม : ผู้มีส่วนร่วม / องค์กร / หน่วยงานภายนอก

1) จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการรวมทั้งสิ้น 1,633 คน
– จำนวนผู้เข้าร่วม (เด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง ครู) รวมทั้งสิ้น 1,405 คน
– บุคลากรโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานะรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ นักศึกษาอาสาสมัคร และนักดนตรีและศิลปินรับเชิญ จำนวน 150 คน
– ศิลปินรับเชิญจากค่าย Spicy Disc และ BNC Records จำนวน 20 คน
– องค์กร/หน่วยงานผู้สนับสนุน ร่วมออกบูธกิจกรรม/แจกผลิตภัณฑ์ จำนวน 28 คน
– นักศึกษาที่มาจำหน่ายสินค้า (ร้านค้าใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก) จำนวน 30 คน

2) Partners / Sponsors จากองค์กรต่างๆ จำนวน 19 องค์กร / บริษัท ได้แก่ Stategic Partners

2.1 มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล
2.2 หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
2.3 Spicy Disc
2.4 BNC Records
2.5 บริษัท บีทูเอส จำกัด
2.6 บริษัท คาเนโบ คอสเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด
2.7 บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด
2.8 บริษัท ซีพี-เมจิ
2.9 บริษัท โรงงาน เชอรี่ ไอศกรีม จำกัด
2.10 วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
2.11 บริษัท ทรอปิคานา ออยล์ จำกัด
2.12 บริษัท เทพผดุงมะพร้าว
2.13 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
2.14 บริษัท ดัชมิลล์ จำกัด
2.15 บริษัท แฟชั่นฟู้ด จำกัด
2.16 บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)
2.17 บริษัท น้ำมันพืชไทย จำกัด
2.18 บริษัท แลคตาซอย จำกัด
2.19 บริษัท ฟินไดซ์ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด

3.ร้านค้า (บุคคภายนอกและนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล) จำนวน 8 ร้าน

การจัดกิจกรรม

1) กิจกรรมฐาน มีจำนวน 2 ฐาน ดังนี้

1.1)  กิจกรรมฐานศิลปะ สีสันบนตัวเรา

เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับสีสันของดอกไม้ ที่นำมาตกแต่งบนใบหน้าให้กับเด็กๆ ทำให้เด็กๆ ได้รู้จักชื่อของดอกไม้ชนิดต่างๆ และสามารถจำแนกสีสันได้มากขึ้น ช่วยในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้สำหรับเด็กเกี่ยวกับเรื่องของสีสัน

1.2)  กิจกรรมปริศนา Botamon : ตามหาคู่หูสู้กับโรคร้าย

เป็นกิจกรรมที่ใช้ตัวการ์ตูน Botamon เป็นสื่อในการเรียนรู้เกี่ยวกับต้นสมุนไพร ได้ระบายสีจากธรรมชาติ และเดินตามหาต้นสมุนไพรจริงภายในลานนานาสมุนไพร มีทั้งหมด 7 ต้น คือ ต้นมะเดื่ออุทุมพร, ต้นหญ้าหวาน, ต้นพรมมิ, ต้นฟ้าทะลายโจร, ต้นกระดังงาไทย, ต้นเชียงดา และต้นเหงือกปลาหมอ

 

2) กิจกรรมเสริม มีจำนวน 3 ฐาน ดังนี้

2.1) กิจกรรมชมห้องนิทรรศการ “สมุนไพร ภูมิปัญญาไทยสู่สากล” เป็นการเข้าชมนิทรรศการ

โดยมีวิทยากรแนะนำการใช้วิดีทัศน์และเกมส์ต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้และเล็งเห็นถึงความสำคัญ

ของการแพทย์แผนไทย สมุนไพรไทยและการใช้ประโยชน์จากสมุนไพร

2.2) กิจกรรมรถรางมหาสนุก เป็นกิจกรรมที่เด็ก และผู้ปกครอง ได้นั่งรถรางชมบรรยากาศรอบสวนสมุนไพรในอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ และเรียนรู้ต้นสมุนไพรทั้งหมด 30 ต้นด้วยกัน

2.3) กิจกรรมส่อง @ สิรีพาร์ค เป็นกิจกรรมที่เด็ก และผู้ปกครองได้ส่องนกผ่านกล้องส่งทางไกลที่ติดตั้งไว้ให้ ณ หอดูนก บริเวณหอดูนก (ซุ้มน้ำเหนือ) และศึกษาชนิดนกต่างๆ ที่พบได้ในสวนสมุนไพร จากป้ายข้อมูลที่ติดตั้งภายในหอดูนก

นอกจากนี้ยังมีบริเวณเวทีกลางที่ลานหญ้าแอมฟิเธียร์เตอร์ ยังมีการแสดงดนตรีสดที่ได้รับการสนับสนุนจากหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล, ค่าย Spicy Disc และค่าย BNC Records พร้อมทั้งการแสดงละคนจากสำนักโฆษกสโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลอีกด้วย และเปิดพื้นที่สำหรับจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มจากร้านค้านักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล

 

ผลการดำเนินงาน

ผลที่คาดว่าจะได้รับตามวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด  (KPI) ค่าเป้าหมาย ผลลัพธ์
1. เพื่อปลูกฝังให้เด็กได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น รู้สึกรัก และเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมรอบตัว ผ่านกิจกรรมที่เกิดจากสีสันของธรรมชาติ

2. เพื่อสอนให้เด็กได้ฝึกการเรียนรู้จากสีของธรรมชาติ ผ่านการลงมือทำในกิจกรรมต่างๆ

3. เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดประสบการณ์เรียนรู้ จดจำ และรู้จักคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ

เชิงปริมาณ :

–  จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ

เชิงคุณภาพ :

–  กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในโครงที่จัดขึ้น

 

เชิงปริมาณ :

–  จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

เชิงคุณภาพ :

–  กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในกิจกรรม/โครงที่จัดขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

 

เชิงปริมาณ :

– จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ มากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ร้อยละ 108.87

เชิงคุณภาพ :

–  กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในกิจกรรม/โครงที่จัดขึ้น
– ภาพรวมการจัดงานในร้อยละ 89.48
– รูปแบบการจัดงานในร้อยละ 89.20

หมายเหตุ

1. ตัวชี้วัดนำไปใช้กับกิจกรรม/โครงการตามความเหมาะสม
2. เกณฑ์ระดับความพึงพอใจ แบ่งเป็น 5 ระดับ คือ 1, 2, 3, 4, 5 โดยมีเกณฑ์การแปลค่า ดังนี้

1.00    –        1.49    หมายถึง          น้อยที่สุด

1.50    –        2.49    หมายถึง          น้อย

2.50    –        3.49    หมายถึง          ปานกลาง

3.50    –        4.49    หมายถึง          มาก

4.50    –        5.00    หมายถึง มากที่สุด


จากผลการดำเนินงานข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงาน ได้แก่

  1. เรื่องการจัดตั้งงบประมาณค่าใช้จ่ายของโครงการ ควรคำนึงถึงกรณีที่ Partner ไม่สามารถร่วมจัดกิจกรรมได้ และคำนึงถึงงบประมาณสำหรับการจัดเตรียมสถานที่, การทำกิจกรรม และการประชาสัมพันธ์
  2. การเตรียมขึ้นโครงการ ควรเสนอโครงการล่วงหน้าอย่างช้า 3 เดือน เพื่อให้มีระยะเวลาในการประชาสัมพันธ์ และขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงาน/องค์กรต่างๆ
  3. การส่งหนังสือขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ควรส่งก่อนจัดงานอย่างช้า คือ 45 วันก่อนจัดงาน

สื่อสำหรับประชาสัมพันธ์

แผนผังพื้นที่กิจกรรม

ภาพถ่ายในโครงการวันเด็กแห่งชาติ ปีที่ 5 ภายใต้แนวคิด “Towards the Wellbeing of All Life”

โครงการวันเด็กแห่งชาติ ปีที่ 4 “Sensory Play at Sireepark” ประจำปี 2566 วันที่ 14 มกราคม 2566

วัตถุประสงค์ของโครงการ : เพื่อปลูกฝังให้เด็กได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติ รู้สึกรักและเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมรอบตัวผ่านกิจกรรมที่เกิดจากประสาทสัมผัสต่างๆ พร้อมทั้งได้ฝึกการเรียนรู้ประสาทสัมผัสและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติรอบตัว รวมถึงได้เพลิดเพลินกับการรับฟังดนตรีจากนักเรียนหลักสูตรเตรียมอุดมดนตรีของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ และเปิดพื้นที่สำหรับจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มจากร้านค้านักศึกษา นอกจากนี้ โครงการจัดตั้งฯ ยังเปิดให้เด็กด้อยโอกาส และกลุ่มเด็กพิการลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว เพื่อเป็นการสร้าง “สังคมสำหรับทุกคน” (Inclusive society)

ผู้มีส่วนร่วม : ผู้มีส่วนร่วม / องค์กร / หน่วยงานภายนอก

  1. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการรวมทั้งสิ้น 3,148 คน
  2. Partners / Sponsors จากองค์กรต่างๆ จำนวน 21 องค์กร / บริษัท ได้แก่ Stategic Partners

2.1  มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดลในพระราชูปถัมภ์ฯ

2.2  บริษัท บูโอโน่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

2.3  สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยมหิดล จำกัด

2.4  ผู้เข้าร่วมงานกิจกรรม (ตู้รับบริจาคภายในงาน)

2.5  บริษัทแอมเวย์ (ประเทศไทย) จํากัด

2.6  บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน)

2.7  บริษัท อุตสาหกรรมเครื่องหอมไทย-จีน จำกัด

2.8  บริษัท แมรี่ แอน แดรี่ โปรดักส์ จำกัด

2.9  บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด (มหาชน)

2.10 บริษัท ซีพีแรม จำกัด

2.11 บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)

2.12 บริษัท แลคตาซอย จำกัด

2.13 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

2.14 สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์)

2.15 บริษัท ดัชมิลล์ จำกัด

2.16 Cafe Amazon

2.17 บริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จำกัด

2.18 บริษัท น้ำมันพืชไทย จำกัด (มหาชน)

2.19 บริษัท แฟชั่นฟู้ด จำกัด

2.20 บริษัท คาเนโบ คอสเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด

2.21 บริษัท เคซีแอล เทรดดิ้ง จำกัด

  1. ร้านค้า (นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล) 19 ร้าน
  2. นักศึกษา Volunteer ของมหาวิทยาลัยมหิดล 24 คน
  3. นักเรียนหลักสูตรเตรียมอุดมดนตรีศึกษาวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ 50 คน

การจัดกิจกรรม

กิจกรรมฐาน มีจำนวน 3 ฐาน ดังนี้

  1. กิจกรรมแผ่นหอมปรับอากาศหนูทำได้ เป็นกิจกรรมการทำแผ่นหอมจากกลิ่นธรรมชาติให้เป็นกลิ่นเฉพาะตามความชอบของแต่ละบุคคล เด็กๆ จะได้รู้จักกับน้ำมันสกัดจากพืชหรือสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม และได้ทดลองทำแผ่นหอม พร้อมตกแต่งตัวแผ่นหอมตามจินตนาการ ซึ่งจะช่วยให้เด็กได้ประสบการณ์การแยกแยะกลิ่นและเรียนรู้การนำสมุนไพรชนิดต่างๆ จากธรรมชาติมาใช้ประโยชน์
  2. กิจกรรมตกแต่งถุงผ้ารักษ์โลก เป็นกิจกรรมส่งเสริมการลดใช้ถุงพลาสติก โดยการใช้ถุงผ้าที่ตกแต่งลายด้วยฝีมือของเด็กเอง โดยใช้สีจากธรรมชาติ ดอกไม้ใบไม้และสิ่งที่ได้จากธรรมชาติมาสร้างสรรค์เป็นผลงานของตนเองเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจและอยากใช้ถุงผ้ามากขึ้น
  3. กิจกรรมหนูปั้นเองกับมือ เป็นกิจกรรมที่น้อง ๆ จะได้ใช้กล้ามเนื้อมือและจินตนาการในการลงมือปั้นเสริมเติมแต่ง
    ดินเหนียวให้กลายเป็นสิ่งต่างๆ และตกแต่งด้วยการนำใบไม้มากดในเป็นลวดลายต่างๆมาเช่น กระถางต้นไม้ขนาดจิ๋ว

 

กิจกรรมเสริม ดังนี้

1) กิจกรรมชมนิทรรศการ “สมุนไพร ภูมิปัญญาไทยสู่สากล” เป็นการเข้าชมนิทรรศการโดยมีวิทยากรแนะนำการใช้วิดีทัศน์และเกมส์ต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้และเล็งเห็นถึงความสำคัญของการแพทย์แผนไทยสมุนไพรไทยและการใช้ประโยชน์จากสมุนไพร

2) กิจกรรมตีเกราะเคาะไม้ เป็นกิจกรรมที่เด็กๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเสียงต่างๆ จากวัสดุธรรมชาติ เช่น
การเคาะเกราะไม้ไผ่ ที่มีขนาดต่างกัน ซึ่งจะให้เสียงแหลมทุ้มที่แตกต่างกัน เป็นการฝึกประสาทสัมผัสในการฟังรูปแบบหนึ่ง

3) กิจกรรมชมนิทรรศการบ้านหมอยา ซึ่งเป็นนิทรรศการเคลื่อนที่ ที่บอกเล่าเรื่องราวของการแพทย์แผนไทยสมุนไพร และฤๅษีดัดตน ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้และเล็งเห็นถึงความสำคัญของการแพทย์แผนไทย สมุนไพรไทย และการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพร

 

ผลการดำเนินงาน

ผลที่คาดว่าจะได้รับตามวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด  (KPI) ค่าเป้าหมาย ผลลัพธ์
1.  เพื่อปลูกฝังให้เด็กและเยาวชน ได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น รู้สึกรัก และเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมรอบตัว ผ่านกิจกรรมที่เกิดจากประสาทสัมผัสต่างๆ

2.  เพื่อสอนให้เด็กได้ฝึกการเรียนรู้ประสาทสัมผัสต่างๆและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติรอบตัว เช่น สีจากธรรมชาติ ของเล่นจากธรรมชาติ

3.  เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดประสบการณ์การเรียนรู้ จดจำและรู้จักคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ

เชิงปริมาณ :

–  จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ

เชิงคุณภาพ :

–  กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในโครงที่จัดขึ้น

 

เชิงปริมาณ :

–  จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

เชิงคุณภาพ :

–  กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในกิจกรรม/โครงที่จัดขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

 

เชิงปริมาณ :

–  จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ มากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้

เชิงคุณภาพ :

–  กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในกิจกรรม/โครงที่จัดขึ้น
– ภาพรวมการจัดงานในร้อยละ 86.80
– รูปแบบการจัดงานในร้อยละ 86.00