🍃ต้นปอบิด🍃
19 มีนาคม 2025
🍃ต้นปอบิด🍃
19 มีนาคม 2025

💗”กุมภาพันธ์ เดือนแห่งความรักและดอกไม้งาม”🧡🌿(ต้นทองกวาว)

🏵ทองกวาว ต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่กำลังเบ่งบานสะพรั่ง อวดโฉมสีแสดแดงสดใสไปทั่วทุกพื้นที่ ดอกทองกวาวไม่เพียงแต่สวยงาม แต่ยังมีความหมายมงคลตามความเชื่อของคนไทยโบราณที่ว่า หากปลูกไว้ประจำบ้านจะนำมาซึ่งเงินทองและความเจริญรุ่งเรือง นอกจากนี้ ทองกวาวยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย โดยใช้แก่นทาแก้ปวดฟัน ใช้รากแก้ตะคริว และใช้ดอกแก้ไข้ ขับปัสสาวะ แก้ตาแดง 🌿สิรีพาร์คขอเชิญชวนทุกท่านมาสัมผัสความงามของดอกทองกวาวที่บานสะพรั่ง พร้อมเก็บภาพความประทับใจเป็นที่ระลึก ซึ่งตอนนี้ทองกวาวกำลังผลิดอกบานสะพรั่งเต็มที่ เตรียม📸กล้องและชุดสวยๆ ให้พร้อม แล้ว📌ปักหมุดมาที่อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติได้เลยค่า🌿🥰

……………

🌳ทองกวาว🏵
ชื่อวิทยาศาสตร์ : 𝑩𝒖𝒕𝒆𝒂 𝒎𝒐𝒏𝒐𝒔𝒑𝒆𝒓𝒎𝒂 (Lam.) Taub.
วงศ์ : FABACEAE
ชื่อสามัญ : Bastard teak, Bengal kino, Flame of the forest
ชื่ออื่น : กวาว, ก๋าว (ภาคเหนือ), จอมทอง (ภาคใต้), จ้า เขมร-สุรินทร์), จาน (อุบลราชธานี), ทองกวาว (ภาคกลาง), ทองต้น (ราชบุรี), ทองธรรมชาติ, ทองพรมชาติ (ภาคกลาง)

……………..

🌳ทองกวาว จัดเป็นไม้ต้น สูงได้ถึง 20 ม. แตกกิ่งต่ำ หูใบและหูใบย่อยขนาดเล็ก ใบประกอบมี 3 ใบย่อย ก้านใบยาวได้ถึง 10 ซม. ใบย่อยขนาดไม่เท่ากัน ยาว 14–17 ซม. ปลายกลมหรือเว้าตื้น ๆ โคนมักเบี้ยว ใบปลายรูปไข่กลับกว้างเกือบกลม ก้านยาวได้ถึง 5 ซม. ใบข้างรูปไข่ ก้านยาว 0.5–1 ซม. ช่อดอกแบบช่อแยกแขนงคล้ายช่อกระจุก ออกตามซอกใบหรือตาม มีขนละเอียด ใบประดับขนาดเล็ก ร่วงเร็ว กลีบเลี้ยงรูปถ้วย มีขนทั้งสองด้าน ปลายจักตื้น ๆ กลีบบน 2 กลีบ กลีบล่าง 3 กลีบ ดอกโค้งงอ สีส้มหรือเหลือง ยาว 5–5.5 ซม. มีขนละเอียด กลีบกลางรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กลีบปีกและกลีบคู่ล่างรูปเคียว เชื่อมติดกัน กลีบคู่ล่างกว้างและยาวกว่ากลีบปีกเล็กน้อย ก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกัน รังไข่มีขนละเอียด ก้านเกสรเพศเมียโค้งเข้า ยอดเกสรเป็นตุ่ม ฝักรูปขอบขนาน แบน ยาว 12–15 ซม. ปลายกลม ก้านยาวประมาณ 1.5 ซม. มีเมล็ดเดียวอยู่ที่ปลายผล แบน ยาว 3–3.5 มม.

🌱 สรรพคุณทางยา : ใช้ แก่น ทาแก้ปวดฟัน / ใช้ ราก แก้ตะคริว / ใช้ ดอก แก้ไข้ ขับปัสสาวะ แก้ตาแดง

……………..