การจัดการตัวอย่างพรรณไม้แห้งและเครื่องยา
เป็นการจัดทำตัวอย่างพรรณไม้โดยผ่านกระบวนการอบแห้ง ระบุชื่อวิทยาศาสตร์ของพรรณไม้แห้งและเครื่องยา
และจัดเก็บภายในพิพิธภัณฑ์พืชตามหลักอนุกรมวิธานพืช
วัตถุประสงค์ : เพื่อใช้เป็นตัวอย่างอ้างอิงในบทความทางวิชาการด้านพืช
สิ่งที่ผู้เข้ารับบริการต้องจัดเตรียม
- นำส่งตัวอย่างพรรณไม้ที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ โดยชิ้นตัวอย่างต้องประกอบด้วย ใบ ดอก และผล
- กรอกข้อมูลขอรับบริการในรูปแบบ google form
บริการที่จะได้รับ
– บริการนำตัวอย่างพรรณไม้สดไปผ่านกระบวนการอบแห้ง โดยใช้เวลาประมาณ 3–5 วัน
– ตรวจสอบระบุชื่อวิทยาศาสตร์ของพรรณไม้โดยผู้เชี่ยวชาญด้านพฤกษศาสตร์
– บริการเย็บตัวอย่างพรรณไม้ลงบนกระดาษและติดป้ายข้อมูลพรรณไม้
– นำตัวอย่างพรรณไม้ไปจัดเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์พืชตามหลักอนุกรมวิธานพืช
– บริการออกใบรับรอง (certificate) การตรวจสอบและระบุชื่อวิทยาศาสตร์ของพรรณไม้หรือเครื่องยาเพื่อนำไปใช้
อ้างอิงในบทความทางวิชาการด้านพืช
อัตราค่าบริการ
ลำดับ | รายการ | สังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล
(1 ชนิด/บาท) |
มิได้สังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล
(1 ชนิด/บาท) |
1 | การจัดการตัวอย่างพรรณไม้ที่อบแห้งแล้ว | 800–1,600 | 1,000–2,000 |
2 | การจัดการตัวอย่างพรรณไม้สดซึ่งโครงการจะต้องนำไปผ่านกระบวนการในการอบแห้ง | 1,600–2,800 | 2,000–3,500 |
3 | การจัดการตัวอย่างเครื่องยาที่อบแห้งแล้ว | 1,000–1,800 | 1,200–2,200 |